ประวัติอ.แม่สาย

แม่สายในอดีต

         แม่น้ำแม่สาย มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเมียนมาร์ ใหลลงสู่ทางใต้ เป็นเส้นกั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า นับตั้งแต่ถ้ำผาจมไปจดจบแม่น้ำรวก


        นับย้อนหลังไปนับพันปี บริเวณแหงนี้เคยเป็นเมืองโบราณมีชื่อเรียก่าเวียงสี่ตวง และเวียงพานคำ เป็นเมืองของพญาพรหม โอรสของพญาพังคราช เจ้าเมืองโยนก หรือเมืองเชียงแสนในปัจจุบัน ซึ่งเสียเมืองให้กับขอม และถูกเนรเทศมาอยู่เมืองสี่ตวง ด้วยความสามารถของพญาพรหม ได้ทำการรบพุ่งกับขอม และขับไล่ขอมยึดเมืองคืนมาได้ พระเจ้าพรหม จึงได้รับสมัญญานามว่า "มหาราช" องค์แรกของสยามประเทศ
      

          จากหลักฐานซากกำแพงเมืองโบราณซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เช่นบริเวณหลังวัดเวียงพาน หลังวัดพรหมวิหาร และสองด้านของสถานีใบยาสูบแม่สาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังคงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเมืองนี้มีอายุยืนยาวต่อเนื่องเพียงใด ก่อนที่จะมาเป็นชุ่มชนแห่งนี้ที่เรียกว่าแม่สาย ซึ่งเติบโตมาเป็นกิ่งอำเภอ และอำเภอจนถึงทุกวันนี้
แม่สายเป็นหมู่บ้านมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ปีใด ไม่ปรากฏหลักฐานเอาไว้ แต่ต้องเป็นชุมชนมานานก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นแน่ เพระเริ่มมีโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ซึ่งก็คือโรงเรียนบ้านแม่สายนั่นเอง
 


           มีผู้สันนิษฐานว่าชุมชนคงเกิดขึ้น เกิดจาการอพยพคนมาจากลำพูน มาอยู่เขียงแสน แม่จัน แม่สาย ในรัชกาลที่ 5 โดยส่วนมากเป็นลูกหลานของชาวเมืองยอง ที่อพยพลงมากกับพระยากาวิละ เจ้าเมืองที่ครองนครเชียงใหม่ ในยุคเก็บผักไส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชาวนา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องชลประทานเป็นพิเศษ ทำให้มีการขุดลำเหมืองแดง เพื่อชักน้ำสายมาเข้าในนา และน่าเชื่อว่าได้ว่านี่คือเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดชุมชนริมฝั่งเหมือง แดง และริมฝั่งน้ำสายขึ้น ซึ่งชุมชนอาจมีจุดเริ่มต้นที่ตลาดแพร่
 

           ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤบดีคนสำคัญของอำเภอแม่สาย ได้เปิดตลาดขึ้นใหม่ จึงปรากฏว่ามีชุมชนหนาแน่นเพิ่มขึ้นตามลำดับ
แม่สายมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอแยกออกมาจาก แม่จัน หรือเชียงแสนหลวง เมื่อปีพ.ศ. 2481
เมื่อสงครามโลกอุบัติขึ้น ไทยจำเป็นต้องเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้จัดส่งกองทหารขึ้นไปยึดเชียงตุงกลับคืนจากอังกฤษ โดยสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสาย ในปี พ.ศ. 2485 และสร้างถนนไปเชียงตุงยาว 160 ก.ม. ยึดเมืองเชียงตุง สถาปนาเป็นสหรัฐไทยเดิม ในช่วงสงครามโลกทำให้แม่สายมีความสำคัญในฐานะประตู่สู่เขียงตุง
 

           ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานเหล็กของแม่สายต้องกลับพังพินาศไปด้วยระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร และในที่สุดเชียงตุงก็ตกไปเป็นของอังกฤษตามเดิม
หลังสงครามโลก มีผู้อพยพมาจากที่อื่น มาตั้งรกรากมากขึ้น แม่สายเริ่มเป็นเมืองการค้าชายแดนที่สำคัญ และมาเป็นประชากรรุ่นใหม่สืบมา
 

กิ่งอำเภอแม่สายยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2493 มีเพียงสี่ตำบลนั่นก็คือ
1.ต.แม่สาย
2.ต.เกาะช้าง
3.ต.โป่งผา
4.ต.ห้วยไคร้          


             และเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2501 พสกนิกรชาวแม่สายมีความปลื้มปิติเป็นล้นพ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประพาสอำเภอแม่สาย
ก่อนถึงปี พ.ศ. 2499 ได้ปรากฏหลักฐานว่าแม่สายถูกไฟใหม้ครั้งใหญ่ ติดต่อกันสองครั้ง สองคราว และจากเรือนไม้เก่าก็ถูกแทนที่ด้วยอาคารพานิชย์ สองฝากฝั่งถนนพหลโยธิน ดูแลโดยสุขาภิบาลแม่สายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 นับวันเมืองแม่สายได้ขยายตัวเติบโตขึ้นมาเป็นลำดับ และธนาคารแห่งแรกคือธนาคารอมสิน และอีกหลายธนาคารก็เริ่มก่อร่างสร้างขึ้น มีโรงเรียนดรุณราษฏร์เป็นเป็นโรงเรียนราษฏร์แห่งแรก


สภาพทั่วไปอำเภอแม่สาย
          อำเภอแม่สาย เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงราย และของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 891 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดเชียงราย 63 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 285 ตารางกิโลกเมตร หรือ 178,125 ไร่ โดยมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 14 จากจำนวน 18 อำเภอของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับ อ.เชียงแสน แม่จัน แม่ฟ้าหลวง และติดต่อกับประเทศสหภาพพม่าทางด้านเหนือ ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร          


         ประชากรมีประมาณ 85.000 คน แบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 87 หมู่บ้าน มีเทศบาลตำบล 3 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 7 แห่ง

Popular Posts