ความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อคำแดงบ้านไม้ลุงขน
แรกเริ่มเดิมทีเป็นศาลเจ้าบ้าน มีสถานที่เดิมตั้งอยู่ระหว่างสะพานน้ำบ่อหลวงและสี่แยกน้ำบ่อหลวง ด้านทิศตะวันออกของถนนในสมัยนั้นคำว่าเจ้าบ้านย่อมเป็นที่เคารพนับถือของ ประชาชนทั้งชายและหญิงในหมู่บ้านไม้ลุงขนมาตั้งแต่โบราณ
ต่อมาในราวปีพ.ศ.
2495 - 2500
ประชาชนในหมุ่บ้านไม้ลุงขนได้เห็นความสำคัญต่อเจ้าบ้านจึงได้พร้อมใจกัน
พัฒนาบริเวณต้นไม้ลุงขนที่บริเวณริมหนองโค้งในสมัยนั้นอาณาบริเวณประมาณ
1 ไร่ จึงได้ประกอบพิธีอัญเชิญเจ้าบ้านมาประดิษฐานไว้ ณ
ศาลหลังเล็ก
ๆ มุงด้วยหญ้าคาขึ้นสามหลังพร้อมเสาใจบ้านในบริเวณต้นไม้ลุงขน
อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน
เอาไว้กราบไหว้บูชาเคารพนับถือ
ในความเชื่อถือของชาวบ้านไม้ลุงขนเล่าขานกัน สืบมาว่าในสมัยโบราณก่อนจะเข้าฤดูทำนาในช่วงเดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำ ชาวบ้านไม้ลุงขนจะประกอบพิธีเลี้ยงเมือง ด้วยการป่าวประกาศให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมใจกันบริจากข้าวสารหลังคา เรือนละ 1 ลิตร เงินคนละ 1 บาท (ข้อห้าม...ถ้าหากครอบครัวใดที่มีหญิงตั้งครรภ์ไม่ต้องออก) หลังจากรวบรวมได้แล้วทางผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านพร้อมด้วยชาวบ้านจะทำการนำข้าวสารมาแช่น้ำแล้วตำหรือโม่ เสร็จแล้วนำมานวดผสมกับน้ำอ้อยห่อทำเป็นขนมเทียนแล้วนึ่งให้สุกเสร็จเรียบ ร้อย
พอรุ่งเช้าของเดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำเวลา 05.00
น.ผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน
(พ่อหมอเมือง) เริ่มประกอบพิธีอัญเชิญเจ้าบ้านเจ้าเมือง
มารับเอาของเซ่นไหว้
(เลี้ยงเมือง) ในวันเลี้ยงเมืองสมัยก่อนมีการปิดหมู่บ้าน
ห้ามเข้าห้ามออกในวันดังกล่าว
ต่อมาในสมัยนี้วิวัฒนาการทันสมัยไม่สามารถปิดหมู่บ้านได้
ระหว่างทำพิธีจะมีการตีก้อง
ฆ้องมอง เซิง
ฟ้อนรำแบบพื้นบ้านสิบสองปันนาไปจนเสร็จพิธีเลี้ยงเมือง
เชื่อกันว่าเจ้าบ้านเจ้าเมืองจะช่วยบันดาลให้ข้าวกล้าในไร่ในนาอุดมสมบูรณ์
และอยู่เย็นเป็นสุขทุกครัวเรือนหลังจากนั้นขนมเทียนและอาหารเจที่ชาวบ้านนำ
มาร่วมพิธีได้นำมาแจกจ่ายให้กับผู้มาร่วมพิธีโดยทั่วกัน
เชื่อกันว่าเป็นยาทิพย์จะทำให้โรคภัยไข้เจ็บหายไปจากตัวเรา
มาในปีพ.ศ. 2507-2510
ได้มีร่างทรงเจ้าพ่อคำแดง
ได้มาทำการเข้าทรงได้บอกกับประชาชนชาวบ้านไม้ลุงขนว่าเจ้าพ่อคำแดงได้เสด็จ
มาจากถ้ำเชียงดาว
อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ มาประทับอยู่ ณ
สถานแห่งนี้เพื่อปกปักษ์รักษาหมู่บ้านไม้ลุงขนตั้งแต่นั้นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีผู้ใหญ่บ้าน นายมูล ราวิชัย
พร้อมด้วยประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างศาล ทำด้วยไม้หลังคามุงสังกะสี
และได้หาช่างมาทำการปั้นรูปเจ้าพ่อคำแดงองค์นี้ไว้ดังที่ท่านทั้งหลายได้เห็นและได้กราบไหว้บูชาตราบเท่าทุกวันนี้
ในทุก
ๆ ปีจะมีกิจกรรมและงานประเพณีที่สำคัญ 3 งานคือ
1.งานประจำปีจัดในเดือนมีนาคมของทุกปี
2.งานส่งเคราะห์และสืบสะชาในวันปีใหม่เมืองเดือนเมษายน
3.งานประเพณีเลี้ยงเมืองเจ้าพ่อคำแดง เดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำของทุกปี
2.งานส่งเคราะห์และสืบสะชาในวันปีใหม่เมืองเดือนเมษายน
3.งานประเพณีเลี้ยงเมืองเจ้าพ่อคำแดง เดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำของทุกปี
ต่อมาเมื่อปี พ.ส. 2529 ทางผู้ใหญ่บ้าน
นายอินจันทร์
วงศ์ใหญ่
พร้อมด้วยประชาชนบ้านไม้ลุงขนที่ศรัทธาในองค์เจ้าพ่อคำแดงได้ทำการก่อสร้าง
ศาลหลังใหม่ขึ้น
ทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมและได้อัญเชิญรูปปั้นองค์เจ้าพ่อคำแดงขึ้น
ประดิษฐานไว้
จนมาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2542 เวลา 20.30
น.ได้เกิดพายุลมฝนอย่างรุนแรงทำให้ต้นไม้ลุงขนที่มีอายุร่วม
220
ปีได้โค่นล้มลงสร้างความเสียใจให้ประชาชนในหมู่บ้านเป็นอย่างยิ่ง
ต่อมาได้มีนายโยง สุยา และนายสุจิตร ราวิชัย
พร้อมด้วยคณะกรรมการได้ทำการเพาะปลูกต้นไม้ลุงขนต้นใหม่ขึ้นเพื่อทดแทนต้น
เก่า
ดังที่ท่านทั้งหลายได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2548
ทางคณะกรรมการและคณะศรัทธาบ้านไม้ลุงขนได้ทำการวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างศาล
หลังใหม่นี้ขึ้นด้วยงบประมาณในการก่อสร้างประมาณ
1,850,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2549
1,850,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2549