ขุนน้ำนางนอน


สภาพภูมิประเทศ
         1.บริเวณถ้ำหลวง เป็นพื้นที่หุบเขามีภูเขาสูงล้อมรอบ
         2.บริเวณขุนน้ำนางนอน เป็นพื้นที่ราบเชิงดอยมีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น มีน้ำซึมผ่านมาจากรอยแยกของหินเป็นแอ่งน้ำซึ่งใสและเย็นมาก


         ปากถ้ำอยู่ทิศเหนือของตัวดอย สูงกว่าระดับพื้นดินธรรมดาประมาณ 15 ขั้นบันได เป็นถ้ำที่มหินงอกหินย้อยเป็นจำนวนมากที่สุดถ้ำหนึ่งในเชียงราย การเดินขึ้นไปปากถ้ำสะดวกสบายมาก เพราะไม่สูงและมีปันไดไว้ให้ ปากถ้ำกว้างประมาณ 20 เมตร ลักษณะลาดเอียงลงไปข้างล่าง คือเอียงลงในถ้ำ ภายในไม่ราบเรียบ เต็มไปด้วยหินงอก หินย้อยตะปุ่มตะป่ำ บางแห่งหินย้อยลงมาจากเพดานข้างบนจนจดพื้นข้างล่าง เลยกลายเป็นลักษณะเสาค้ำเพดานไว้ก็มี บางแห่งย้อยลงมามีลักษณะคล้ายผ้าม่านที่มนุษย์ทำขั้น บางแห่งเวลาส่องดูด้วยไฟฟ้าเดินทางจะปรากฏมีแสงระยิบระยับสวยงามมาก บางคนจินตนาการไปต่าง ๆ นานา เช่น เป็นห้องโถงท้องพระโรงบ้าง ห้องนั่งเล่นบ้าง แม้กระทั่งจินตนาการเป็นรูปคน สัตว์ก็มี หลายแห่งมีน้ำหยดลงมาจากผนังถ้ำด้านบน บางแห่งหยดลงมานานจนกลายเป็นแอ่งน้ำเล็ก ๆ สามารถตักดื่มได้ จึงจินตนาการไปกลายเป็นบ่อน้ำทิพย์ บ่อน้ำมนต์ฤาษีบ้าง ว่ากันไปไม่รู้จบ บ้างก็เล่าลือกันไปว่าถ้ำนี้สามารทะลุไปออกถ้ำเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่โน่น ทีเดียว ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
        
          ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นตะปุ่มระ ป่ำไม่เรียบถ้าเรียบก็สามารถบรรจุคนจำนวนร้อยได้ บางแห่งกว้างราวกับหอประชุมขนาดใหญ่ มีโพรงอากาศที่ทะลุจากเพดานถ้ำด้านบนให้แสงสว่างลงมาถึงก้นถ้ำสามแห่ง เชื่อกันว่าไม่มีใครสามารถเดินเข้าถ้ำนี้จนสุดได้ทุกซอกทุกมุมได้ เพราะว่ามีหลายหลืบ หลายชั้นมากมายเหลือเกิน บางตอนจะต้องเดินลัดน้ำที่ลึกประมาณ 1 ศอกก็มี แต่บางแห่งก็เป็นเพียงมีน้ำซึมเท่านั้น พื้นถ้ำส่วนมากลื่นอาจจะหกล้มได้ง่าย บางแห่งเป็นหุบเหวยอยู่ภายในถ้ำก้มี ทั้งนี้เนื่องจากความใหญ่โตของมันนั่นเอง
        
         เมื่อปี 2534 มีนักทัศนาจรชาวฝรั่งสองคน ได้มาเที่ยวที่ถ้ำหลวงแห่งนี้และพากันเข้าไปในถ้ำ คนภายนอกถ้ำสังเกตุว่าทั้งคู่ไม่ออกมากที จึงแจ้งตำรวจและช่วยกันค้นหา กว่าจะพบและพาออกมาได้ก็เสียเวลาไปสามวันในสภาพที่ดิดโรยเต็มที จากนั้นจึงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนมาตั้งอยู่ที่ปากถ้ำเพื่อให้คำแนะ นำช่วยเหลือดังกว่าวมาแล้ว

สภาพภูมิอากาศ
         สภาพภูมิอากาศของวนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน มี 3 ฤดู คือฤดูฝน ฤดูร้อน และฤดูหนาว สำหรับวนอุทยานถ้ำหลวงมีสภาพอากาศที่เย็นสบายถึงแม้จะเป็นฤดูร้อนเพราะอยู่ ในพื้นที่หุบเขา

 

จุดเด่นและแหล่งท่องเที่ยว
         วนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน มีพื้นที่สำหรับบริการนักท่องเที่ยว 2 แห่ง มีจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว 6 แห่ง คือ
         1.ถ้ำหลวง ตามลักษณะของถ้ำ คำว่า "หลวง" เป็นภาษาพื้นเมือง แปลว่าใหญ่ ถ้ำหลวงเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ เชื่อว่ามีความยากมากที่สุดในประเทศไทย สำรวจได้โดยประมาณ 7 กิโลเมตร ปากถ้ำกว้างขวางมาก ภายในจะพบความงามของเกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำและถ้ำลอด แต่ละจุดจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของบริเวณนั้น
         2.ถ้ำพระ เป็นถ้ำขนาดเล็กมีความสงบร่มเย็น ชาวบ้านได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ เพื่อเป็นที่สักการะบูชา
         3.ถ้ำเลียงผา เป็นถ้ำที่มีเปลือกหอย อายุหลายล้านปี (กำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจข้อมูลที่ชัดเจน) แต่เดิมมีคนกล่าวไว้ว่าเป็นแหล่งน้ำ ซึ่งบริเวณนี้จะมีเลียงผามากินน้ำเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า "ถ้ำเลียงผา" มีความชุ่นชื้นตลอดเวลา พื้นถ้ำบางแห่งเป็นดินพุ
         4.ถ้ำมัลติเทวี เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีหินงอกคล้ายรูปพญานาค บางครั้งเรียกว่าถ้ำพญานาค กล่าวกันว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอริยสงฆ์รูปหนึ่ง และได้มรณะภาพภายในถ้ำนี้
         5.ถ้ำทรายทอง มีความงดงามของหินงอก หินย้อย พื้นถ้ำเดินได้สะดวก และสามารถเดินทะลุไปอีกส่วนหนึ่งของถ้ำได้ (อยู่ที่บริเวณขุนน้ำนางนอน)
         6.ขุนน้ำนางนอน เป็นแอ่งเก็บน้ำซึ่งซึมผ่านออกมาจากรอยแยกของหิน มีน้ำตลอดปี และมีปลาหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติอยู่มาก และยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมขาติ 1 เส้นทาง ซึ่งระยะทางประมาณ 2.6 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินศึกษาธรรมชาติอย่างน้อย 55 นาที หรืออย่างมาก 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการเลือกจุด ที่จะหยุดตามความสนใจ ซึ่งหากคุณเดินช้า ก็จะได้รับรางวัลมากกว่าการเดินเร็ว


การคมนาคม
         เดินทางได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 10 จากเชียงราย - แม่สาย ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายตามป้ายชื่อ (ปากทางเข้าอยู่บริเวณตรงข้ามโรงเรียนบ้านน้ำจำ ต.โป่งผา) วนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

 

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
         สำหรับเส้นทางสำรวจและศึกษาธรรมชาติ ของวนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอนนั้น มีจำนวน 3 เส้นทาง เส้นทางที่ยาวที่สุดมีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง หรือผู้ใหญ่ เส้นทางรองลงมามีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และเส้นทางที่สามนั้นมีระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร เหมาะสำหรับเยาวชนหรือผู้ที่มีเวลาน้อย
         ตลอดระยะเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทั้ง 3 เส้นทางนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจมากคือ สภาพของป่าบริเวณถ้ำหลวง จนถึงขุนน้ำนางนอน มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณผสมดิบแล้ง และบางช่วงเป็นป่าโปร่ง มีไม้ไผ่หลายชนิดขึ้นกระจัดกระจาย ไม้บนสุดที่มีเรือนยอดเด่น มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งของชนิด และพันธุ์ไม้ค่อนข้างสูง อีกทั้งหากเดินอย่างสงบจะพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่นหมูป่า เก้ง แมวป่า อีเห็น กระรอก กระแต หนูหรึ่ง ส่วนจำพวกนก ได้แก่เหยี่ยว นกนางถ้ำ นกปรอทหัวขวาน นกกระปูด
         ระหว่างทางจะพบโขดหินปูนซึ่งถูกน้ำกัดเซาะสวยงาม และข้างทางจะพบเห็ด เถาวัลย์ นอกจากนั้นช่วงทางเดินแต่ละเส้นทางระหว่างถ้ำหลวงถึงขุนน้ำนางนอน จะพบการแบ่งเขตของป่า จากป่าเบญจพรรณสู่ป่าดิบแล้งอย่างชัดเจน และป่าซึ่งฟื้นคืนสภาพจากการถูกทำลายและทั้ง 3 เส้นทางจะมีทางลงที่ขุนน้ำนางนอน

 

สิ่งที่คุณสามารถพบได้ระหว่างการเดินศึกษาธรรมชาติ
         1.ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ คืบคลานมาจากท้องทะเล เมื่อประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว โดยขึ้นมาอยู่บนก้อนหิน นับเป็นปรากฏการณ์ของวิวัฒนาการบนโลกเรา แต่ก่อนนั้นผิวโลกของเราเป็นสีน้ำตาล ไม่มีสิ่งมีชิวิตแต่ด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นการปฏิวัติเขียว ซึ่งทำให้พื้นผิวโลกมีการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงไป ไลเคนเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างดิน ทำให้พืชขนาดเล็กเกิดขึ้นได้ ซึ่งนำไปสู่การสร้างผืนป่าขนาดใหญ่ ถ้าไลเคนไม่เกิดขึ้นในขั้นแรกก็จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นตามมาได้ รวมทั้งตัวเราด้วย
         2.พรมแดนป่า รอยต่อของป่าตรงบริเวณนี้เป็นบริเวณถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ เพราะมีป่าถึงสามชนิดอยู่ใกล้ชิดติดกัน ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ มีความหลากหลายทางพันธุ์ไม้มาก จัดเป็นแหล่งผลิตอาหารขนาดใหญ่ในพื้นที่เล็ก ๆ ทำให้สัตว์ป่าขนาดเล็กและใหญ่ รวมทั้งนกสามารถเคลื่อนย้ายหากินได้ง่าย และรวดเร็ว ในระหว่างป่าแต่ละชนิดความมหัศจรรย์ที่ทำให้พันธุ์ไม้มารวมอยู่ได้ในบริเวณ นี้ก็เนื่องมาจากความลดหลั่นในปริมาณและคุณภาพของดิน อากาศ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ และความลาดเอียงของพื้นที่
         3.ต้นไผ่ เป็นหญ้าที่สูงที่ สุดในโลก มีวิวัฒนาการด้านการสืบพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในฤดูฝนจะแตกหน่อ งอกออกมาเหมือนกับต้นแม่ภายในเวลา 3 เดือน แล้วหน่อไผ่เหล่านี้ก็เจริญเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ จนเมื่อวันหนึ่งบรรยากาศบริเวณนั้นขาดแคลนความชื้นในอากาศและความชื้นในดิน มันก็จะพากันออกดอกออกผลได้เป็นพัน ๆ เพื่อแพร่กระจายไปได้เป็นบริเวณกว้างขวาง ซึ่งเป็นการใช้พลังงานไปอย่างมากมาย แล้วต้นแม่ก็จะตาย ซึ่งเรียกว่าไผ่ตายขุย ในอุทยานนี้มีไผ่อยู่มากกว่า 8 ชนิด ที่ใช้เทคนิคการสืบพันธุ์โดยวิธีดังกว่าว
         4.กล้วยไม้ เงยหน้าขึ้น จะพบกล้วยไม้ (ต้นไม้กลุ่มที่ถูกจัดเป็นพืชมีดอกสวยที่สุดในโลก) ถูกจัดเป็นพืช เกาะอาศัย กล้วยไม้มีรากอากาศเพื่อเก็บน้ำและมีขี้ผึ้งเคลือบใบเพื่อป้องกันความร้อน และกระแสลมมาพัดเอาไอน้ำไปจากใบ รากสามารถดึงดูดน้ำจากอากาศ และฝน กล้วยไม้กินแร่ธาตุจากน้ำฝนที่ไหลผ่านเปลือกไม้ กล้วยไม้มักมีรูปร่างของใบคล้าย ๆ ถ้วยเพื่อเก็บน้ำฝนให้ได้มากขึ้น
         5.พูพอน มองขึ้นไปคุณจะเห็นว่าต้นไม้ในป่าดงดิบสูงมากเพียงใด บางต้นสูงถึง 40 เมตร คุณว่ามันรักษาความสู่งเด่นของมันอย่างไร รากของมันไม่ลึกมากพอ ต้นไม้ไม่มีรากแผ่ด้านข้างมากนัก เพราะรากไม้จะไปประสานชนกับรากต้นไม้อื่นจึงทำให้มันไม่สามารแผ่ไปได้ไกล ต้นไม้ในป่าดงดิบจึงสร้างขาพิเศษสำหรับเอาไว้ค้ำยันเพื่อเผชิญกับพายุแรง ขาพิเศษนี้เรียกว่า "พูพอน"
         6.เถาวัลย์ พื้นป่าดงดิบมืด ทับ เพราะได้รับแสงน้อย ที่นี่คุณจะพบเถาวัลย์มากมาย เถาวัลย์ต้องการแสงแดดเช่นเดียวกับต้นไม้ใหญ่ มันจึงใช้วิธีลัดด้วยการเติบโตทางด้านยาวมากกว่าด้านกว้าง ทำให้ไม่แข็งแรง แต่ก็ขึ้นไปรับแสงได้ ด้วยการอาศัยต้นไม้อื่น มันแตกรากออกด้านข้างเพื่อเกาะยึด ให้หนามขอเกี่ยว เถาวัลย์ไม่ทำร้ายต้นไม้ที่มันอาศัย ยังช่วยสานเรือนยอดต้นไม้ให้เป็นกำแพงเพื่อต้านพายุได้
         7.ปลวก ถ้าในป่าไม่มีปลวกจะเกิดอะไรขึ้น??? ปลวกเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าอยางยิ่ง เพระต้นไม้กิ่งไม้ที่หักลงจะถูกย่อยสบายเปลี่ยนเป็นธาตุที่มีโครงสร้างซับ ซ้อนให้กลับมาเป็นอาหารที่พืชชนิดอื่นนำไปใช้ได้ทันที ปลวกไม่มีน้ำย่อยในตัวของมัน แต่อาศัยโปรตัวซัวในลำไส้ที่สามารถย่อยเนื้อไม้ มันนำไม้ปให้เห็ดราภายรังเป็นอาหาร ปลวกก็จะพากันกินเห็ดที่งอกขั้นมาเหมือนกับสวนครัวที่คุณปลูกไว้ที่บ้าน ในป่าทั่ว ๆ ไป จึงจำเป็นต้องมีปลวกเพื่อทำหน้าที่หมุนเวียนแร่ธาตุอาหารให้กับนิเวศวิทยา ของป่า

 

ขุนน้ำนางนอน
         เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่ง หนึ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของอำเภอแม่สาย ตั้งอยู่บ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย ห่างจากตัวอำเภอแม่สายลงมาทางพหลโยธินประมาณ 7 กิโลเมตร และจากปากทางเข้าไปจนถึงขุนน้ำนางนอนอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ระหว่างทางจะเป็นหมู่บ้านเรียงรายทั้งสองข้างทาง
         เมื่อหลายปีก่อนสามารถขี่ มอเตอร์ไซค์เข้าไปข้างในได้เลย แต่ปัจจุบันทางเจ้าหน้าที่ได้จัดที่จอดรถไว้ให้ รวมทั้งร้านอาหารด้วย เมื่อก่อนที่ยังไม่มี่เจ้าหน้าที่มาดูแล ร้านอาหารจะตั้งอยู่ด้านใน ใกล้ ๆ กับขุนน้ำ (ถ้ำที่มีน้ำใหลออกมา) ทำให้ดูไม่เป็นระเบียบ ดังนั้นทางกรรมการหมุ่บ้าน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลทั่วไปและเจ้าหน้าที่วนอุทยานได้จัดที่สำหรับตั้งร้านขาย อาหารได้ มี 2 แห่ง คือทางด้านหน้าทางเข้าทางเดิม และอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเข้าทางใหม่ ทางด้านหลังของขุนน้ำ
         ในช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือน มีนาคม-พฤษภาคม จะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันมากที่สุด นิยมนำอาหารจากบ้านมาทานกันเอง บางคนก็มาหาซื้อเอาจากร้านค้า ที่มีบริการนับสิบร้าน ภายในบริเวณขุนน้ำนางนอนมีถ้ำอยู่ 1 แห่ง เป็นถ้ำขนาดเล็ก สามารถเดินเข้าไปชมได้ตลอดเวลา

Popular Posts